วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การสอน การพัฒนาบุคลากรทางลูกเสือ

การสอน การพัฒนาบุคลากรทางลูกเสือเช่นเดียวกับ สมฤทธ วุฑฒิปรีชา (2541) ได้ศึกษาการบริหารงานกิจการลูกเสือใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนผ่าน การอบรมลูกเสือขั้นเบื้องต้น มีคณะกรรมการดำเนินกิจการลูกเสือเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนการ สอนวิชาลูกเสือ โดยมีจุดประสงค์ให้มีการปฏิบัติจริงตามหลักการลูกเสือ มีกิจกรมให้ลูกเสือ ไม่ ว่ากิจกรรมเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรม มีการทดสอบวิชาพิเศษให้แก,ลูกเสือ ส่วนปัญหาที่พบ ได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ ขาดงบประมาณ ครูไม่ชอบแต่งเครื่องแบบ ไม่มีห้องเรียน
ส่วน ธานินทร์ ชินวัฒน์ (2542)ไต้ศึกษาการสนับสนุนทรัพยากรการบริหารในกิจการ ลูกเสือในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพะเยา พบว่า การสนับสนุนทรัพยากรการบริหารใน 4 ต้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรคน ทรัพยากรวัสดุ ทรัพยากรเงิน และการจัดการนั้น ผู้บริหารได้ให้ การสนับสนุนทรัพยากรคนในกิจการลูกเสือมาก รองลงไปคือ ทรัพยากรวัสดุ ทรัพยากรเงิน และ การจัดการอย่างเพียงพอ



ขณะเดียวกัน สมบูรณ์ ยาวินัง (2542) ได้ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม ลูกเสือสำรองในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่วาง จังหวัด เชียงใหม่ พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่จัดกิจกรรมลูกเสือสำรองในโรงเรียน โดยมอบหมายให้ครู ประจำชั้นเป็นผู้สอน มีการวางแผนการจัดกิจกรรมทั้งระยะสั้นและระยะยาว ส่วนใหญ่ใช้สถานที่ บริเวณโรงเรียน และห้องเรียนในการจัดกิจกรรม ด้านงบประมาณได้ใช้เงินนอกงบประมาณใน การจัดกิจกรรม มีการเตรียมการสอนและเขียนแผนการสอน มีการใช้สื่อช่วยในการสอน วิธีที่ครู ใช้มากคือ การปฏิบัติงานจริง การสาธิต และการบรรยาย ปัญหาส่วนใหญ่ที่ประสบคือ งาน ทางด้านเอกสารประจำกองลูกเสือ ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ งบประมาณ ความไม่ชัดเจนของนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมลูกเสือ นอกจากนี้ยังพบว่า ความร่วมมือ ความรู้ และประสบการณ์ของครู ความพร้อมและความสนใจของผู้เรียนมีผลต่อ ความสำเร็จของกิจกรรมลูกเสือ การไม่เป็นแบบอย่างของผู้บริหารและครูอาจส่งผลกระทบต่อ กิจกรรมลูกเสือ  www.yonglihongscout.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น