วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การสอน การพัฒนาบุคลากรทางลูกเสือ

การสอน การพัฒนาบุคลากรทางลูกเสือเช่นเดียวกับ สมฤทธ วุฑฒิปรีชา (2541) ได้ศึกษาการบริหารงานกิจการลูกเสือใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนผ่าน การอบรมลูกเสือขั้นเบื้องต้น มีคณะกรรมการดำเนินกิจการลูกเสือเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนการ สอนวิชาลูกเสือ โดยมีจุดประสงค์ให้มีการปฏิบัติจริงตามหลักการลูกเสือ มีกิจกรมให้ลูกเสือ ไม่ ว่ากิจกรรมเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรม มีการทดสอบวิชาพิเศษให้แก,ลูกเสือ ส่วนปัญหาที่พบ ได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ ขาดงบประมาณ ครูไม่ชอบแต่งเครื่องแบบ ไม่มีห้องเรียน
ส่วน ธานินทร์ ชินวัฒน์ (2542)ไต้ศึกษาการสนับสนุนทรัพยากรการบริหารในกิจการ ลูกเสือในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพะเยา พบว่า การสนับสนุนทรัพยากรการบริหารใน 4 ต้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรคน ทรัพยากรวัสดุ ทรัพยากรเงิน และการจัดการนั้น ผู้บริหารได้ให้ การสนับสนุนทรัพยากรคนในกิจการลูกเสือมาก รองลงไปคือ ทรัพยากรวัสดุ ทรัพยากรเงิน และ การจัดการอย่างเพียงพอ

กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ศึกษาเฉพาะกรณีผู้บริหารและครู


โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือรับผิดชอบการเรียนการสอนวิชา อื่นด้วย จึงทำให้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ควรมีการสนับสนุนให้ ลูกเสือ-เนตรนารี จัดกิจกรรมหารายได้เพื่อไว้ใช้ในกลุ่ม ควรมีห้องลูกเสือเพื่อใช้ในการทำ กิจกรรม และมีวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีอย่างเพียงพอและควรมีการ ประชาสัมพันธ์แก่บุคคลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกิจกรรม ลูกเสือ-เนตรนารี ในส่วนของปัญหาและอุปสรรค คือ บุคลากรมีไม่พอ ไม่มีความรู้ความสามารถ ผู้ที่ผ่านการแกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือมานานจะปฏิบัติกิจกรรมได้ไม่เต็มที่ ครูมีความคิดเห็นว่า ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี

การศึกษาความต้องการการนิเทศกิจการลูกเสือ

การศึกษาความต้องการการนิเทศกิจการลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ตามทรรศนะของครูผู้สอนหรือผู้กำกับลูกเสือในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัด พบว่า ครูผู้สอนหรือผู้กำกับลูกเสือมีความต้องการการ นิเทศมาก และการมีข้อเสนอแนะให้กับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ควรให้ความ สนใจและเอาใจใส่ต้านการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ให้มากกว่านี้

ซึ่งคล้ายกับ อุดม อ่อนนวล (2538) ไต้ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ ในการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญ ตามทรรศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดพะเยา พบว่าสภาพที่เป็นจริงว่ามีสภาพที่พึงประสงค์ในทุก ๆด้านปานกลางถึง มาก รวมทั้งข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารให้ความสนใจ และเข้าร่วมนิเทศภายในโรงเรียน
ในปีเดียวกันเอง บรรเจิด อุตมา (2538, หน้า 80) ได้ศึกษาพฤติกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมลูกเสือสามัญในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอลอง จังหวัดแพร่ พบว่า ปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญ เห็นว่าผู้บริหารยังไม่มีการ ติดตามผล และไม่ให้คำปรึกษาหารืออย่างสมํ่าเสมอ ครูผู้สอนคนอื่นๆ ยังไม่ให้ความร่วมมือ เท่าที่ควร อาจเป็นเพราะผู้บริหารและครูผู้สอนไม่เคยได้รับการอบรมลูกเสือสามัญมาก่อน ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของการจัดกิจกรรมลูกเสือ และครูผู้สอนขาดทักษะในการ สอนกิจกรรมลูกเสือ

โครงสร้างการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือในสถานศึกษา

การปฏิบัติงานกิจการลูกเสือก็เช่นเดียวคัน เพื่อให้กิจการลูกเสือได้ดำเนินการให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ของการลูกเสือ และอุดมการณ์ของลูกเสือ จึงได้มีการจัดการปฏิบัติงานและการ บังคับบัญชาตามโครงสร้างของคณะลูกเสือแห่งชาติได้ 3 ระดับ (สำนักงานคณะกรรมการบริการ ลูกเสือแห่งชาติ, 2533, หน้า 16-19) คือ ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ แต่เมื่อพิจารณา การบังคับบัญชางานลกเสือ โดยทั่วไปสามารถแบ่งการบังคับบัญชาตามองค์กรต่างๆได้ 5 ระดับ ดังนี้
 องค์กรระดับชาติ ได้แก่ สภาลูกเสือแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และกองการลูกเสือ

การปฏิบัติงานกิจการลูกเสืออย่างมีเป้าหมาย

ลูกเสือแต่ละประเภทนั้นเป็นส่วนหนึ่งในหลักการ ของลูกเสือที่มุ่งให้ลูกเสือมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวลัน มีความสัมพันธ์กันดังเช่นครอบครัว เดียวกัน โดยความเป็นพี่เป็นน้อง รักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและลัน โดยมีหลักการที่สัมพันธ์ ลันดังนี้คือ เป็นกระบวนการเดียวกัน อุดมการณ์ จุดมุ่งหมายล้วนอันเดียวลัน มีคำปฏิญาณและกฎ ลูกเสือเดียวลัน มีเครื่องแบบเป็นสัญลักษณ์ มีระบบหมู,ในการบริหารงานเหมือกันและมีคติพจน์ เป็นตัวกำหนดแบบอย่างปฏิบัติที่เหมือนกัน ซึ่งลูกเสือทุกประเภทจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง สัมพันธ์ลัน

เเนวทางการปฏิบัติตัวในการเป็นลูกเสือ

ลูกเสือจะต้องเข้าใจและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสืออยู่อย่างสมํ่าเสมอจนติดเป็นนิสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก และการกระทำความดีต่างๆ ผู้พี่จะเป็นพลเมืองดีนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำความดี มิใช่เป็นคนดีโดยอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร ผู้กำกับลูกเสือควรหมั่นแกอบรมให้ ลูกเสือเข้าใจและปฏิบัติตามคำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ และควรประพฤติเป็นตัวอย่างให้ด้วย ในส่วนของคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ก็ได้ระบุถึงการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นซึ่ง ถือว่าสำคัญมาก แหล่งที่ลูกเสือสามารถจะบำเพ็ญประโยชน์ได้นั้น ควรเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวแล้ว ขยายให้กว้างออกไปตามวินัยและความสามารถของลูกเสือ คือ บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชนที่ใกล้โรงเรียน งานสาธารณะ งานส่วนรวม และประเทศชาติ

คำปฏิญาณของลูกเสือ

แนวการฝึกอบรมลูกเสือนั้น ลูกเสือทุกคน ทุกประเภท ผู้กำกับลูกเสือจะต้อง เข้าใจและยึดถือคำปฏิญาณของลูกเสือและกฎของลูกเสืออยู่เสมอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการ บริหารลูกเสือแห่งชาติ (2534, หน้า 3-4) ได้กำหนดคำปฏิญาณของลูกเสือ โดยแย่งเป็นประเภท ต่างๆ ไว้ดังนี้

ลูกเสือสำรอง

ข้าสัญญาว่า ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ 2 ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน 

ส่วนลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ ได้กำหนดคำปฏิญาณของ ลูกเสือ ไว้ดังนี้
ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า

ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

จุดมุ่งหมายของการสร้างลูกเสือที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคม

การลูกเสือจึงเป็นขบวนการที่มุ่งสร้างและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ดังนั้นการที่จะให้ลูกเสือทั่วโลกมุ่งไปในทิศทางเดียวกันตามที่ประมุขของการลูกเสือ โลกได้กำหนดไว้ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกที่มีค่ายิ่ง โดยมีเนื้อหาสาระเป็นหลักในการแกอบรมบ่มนิสัย และกล่อมเกลาเยาวชนของชาติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับการลูกเสือของประเทศไทยนั้น สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ (2521, หน้า 25-26) ได้ยึดถือธรรมนูญของสมัชชา ลูกเสือโลก ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับหลักการสำคัญของลูกเสือไว้ 8 ประการ ที่ผู้เป็นลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ ควรที่จะยึดหลักการ ต่อไปนี้เป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดดังนี้

เเนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษา

จากแนวนโยบายดังกล่าวทางกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มี คำสั่งที่ วก 935/2532 เรื่อง ให้ใช้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์เป็น กิจกรรมบังคับตามหลักสูตรชั้นประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 และให้ใช้คาบเวลาเรียนของ กิจกรรมสร้างนิสัยในกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยทั้งหมด โดยมีคาบเวลาเรียนในแต่ละระดับชั้น ดังนี้
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2       มีคาบเวลาเรียน    80คาบ
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่3-4        มีคาบเรียน             120คาบ
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่5-6        มีคาบเรียน             80คาบ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าให้ใช้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรมยุวกาชาด และกิจกรรมผู้ บำเพ็ญประโยชน์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 ทุกชั้น ในส่วนของ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนด้นก็เช่นเดียวกันได้มีคำสั่งที่วก 936/2532เรื่อง การเพิ่มเติมกิจกรรม และเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ให้ใช้กิจกรรม ลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เป็นกิจกรรมบังคับในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนด้น พุทธศักราช2521 โดยให้ใช้เวลาจัดกิจกรรมดังกล่าว 1 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาคตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 เป็นด้นไป

ฝึกหัดครูเพื่อจัดกิจกรรมลูกเสือ

กรมสามัญศึกษาต้องประสานงานคับ กรมพลศึกษา กรมการฝึกหัดครูเเละนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และกรมต่างๆ ที่มีโรงเรียนในสังกัด ให้แต่ละกรมดำเนินการสอนลูกเสือด้วยการปฏิบัติจริงอย่างจริงจังแด่โดย ต่วน หลักสูตรของกรมวิชาการจะต้องสอดคล้อง และสนับสนุนส่งเสริมวัตถุประสงค์ของคณะ ลูกเสือแห่งชาติ กรมวิชาการจะต้องดำเนินการ และประเมินผลหลักสูตรของลูกเสืออยู่ตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น กรมวิชาการต้องประสานงานคับ คณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติอย่างใกล้ชิด
ควรกำหนดเรื่องการยกเว้นเครื่องแบบ โดยให้มีผ้าพันคอเป็นสัญลักษณ์เท่านั้นใช้ ประกอบเครื่องแบบนักเรียน ให้ดำเนินการร่างกฎหมายโดยเร็วจนกว่าจะมีกฎกระทรวงออกมา กำหนดให้วิทยาลัยครูจัด!เกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และนักศึกษาทุกคน ทุกสาขาวิชาเอก

กิจกรรมลูกเสือที่มีการวางเเผนการเรียนการสอนอย่างมีมาตราฐาน

กิจการลูกเสือซึ่งได้กำเนิดขึ้นจากพระปรีชาสามารถขององค์พระราช บิดารัชกาลที่ 6 ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการลูกเสือที่สามารถช่วยพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้เป็นพลเมืองที่ดีตามที่สังคมคาดหวังมีความรู้ความสามารถ มีวินัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข และเป็นอนาคตที่มีคุณภาพของสังคม ของประเทศชาติและเป็นพลเมืองที่ดีของ โลก
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือ
จากการที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2538, หน้า ก) ได้เห็นถึงความสำคัญของ กิจการลูกเสือ จึงได้กำหนดให้กิจกรรมลูกเสือเป็นกิจกรรมบังคับตามหลักสูตรในระดับ ประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 และให้ใช้เวลาเรียนของกิจกรรมสร้างนิสัยในกลุ่มสร้างเสริม ลักษณะนิสัยทั้งหมด ให้ใช้กิจกรรมลูกเสือในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 พุกชั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาค่านิยม เจตคติ พฤติกรรม และบุคลิกภาพ เน้นการเป็นคนช่างคิด ช่างทำ และปรับตัวเช้าคับการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งค่อนหน้านี้กิจการลูกเสือ จะต้องสมัครเช้าเป็นสมาชิกของกองลูกเสือในโรงเรียน จึงทำให้มีจำนวนลูกเสือไม่มากเช่นใน ปัจจุบัน

พระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯเกี่ยวกับลูกเสือ

พระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ไต้ พระราชทานให้แก,ลูกเสือและเนตรนารี ในพิธีปฏิญาณตน และสวนสนาม เนื่องในงานวันคล้านวัน สถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2529 (คณะลูกเสือแห่งชาติ 2529, หน้า 9) ไว้ว่า กิจการลูกเสือเป็นขบวนการพัฒนาคุณลักษณะทุกๆ ต้านของเยาวชน ให้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติบ้านเมือง ผู้ที่อยู่ในคณะลูกเสือ ต่างยึดมั่นคำปฏิญาณและระเบียบปฏิบัติที่เสมอเหมือนกันในอันที่จะสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ คุณธรรม และจริยธรรม ในตนเองในหมู,คณะให้บริบูรณ์ขึ้นด้วยการกระทำจริง ปฏิบัติจริง ทำให้ลูกเสือและเนตรนารีที่ไต้ผ่านการปีกอบรมครบถ้วนตามหลักการและวิธีการของ ลูกเสือแล้ว

เป็นผู้เข้มแข็งและสามารถมาก ในการบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลืองานที่สำคัญต่างๆของบ้านเมือง และส่วนรวม จนไต้รับความนิยมเชื่อลืออย่างกว้างขวาง

ความสำคัญของกิจการลูกเสือ

ความสำคัญของกิจการลูกเสือ

การลูกเสือไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ดังที่ กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ (2538, หน้า 13) โดยสรุปการลูกเสือไทยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อแกอบรมเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมือง ดีของประเทศชาติ กิจการลูกเสือจึงเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในแง่ของการ สร้างลูกเสือหรือเยาวชนของชาติให้เป็นพลเมืองดี ตามความคาดหวังของสังคม โดยที่การลูกเสือมี วัตถุประสงค์ของการแกอบรมบ่มนิสัยลูกเสือ มีหลักการชัดเจน มีกิจกรรมที่เหมาะสมกับหลักการ พัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะกิจการลูกเสือได้กำเนิดขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ และสอดคล้องกับกิจกรรมลูกเสือโลกอันเป็นกิจกรรมสากลและเป็นที่ยอมรับลับทั่วโลก

นอกจากนี้ กรมวิชากร กระทรวงศึกษาธิการ (2535, หน้า ข) ได้ให้ความสำคัญกับกิจการ ลูกเสือ โดยพิจารณาเห็นว่ากิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ ช่วยให้ เยาวชนของชาติได้พัฒนาทางกาย สติปัญญา และจิตใจ มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี มีความ รับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ มีทักษะ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

หลักการของลูกเสือ

คณะลูกเสือแห่งชาติ ( The National Scout Organization of Thailand NSOT ) ได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก เมื่อ พ.ศ. 2465 ดังนั้นในฐานะที่ เป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก จะต้องปฏิบัติตามหลักการ วัตถุประสงค์ และวิธีการของ ลูกเสือตามที่องค์การลูกเสือโลกได้กำหนดอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาต้องยึดมั่นในวัตถุประสงค์ของ คณะลูกเสือแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2528 (มาตรา 7) และปฏิบัติ ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือ ดังนี้คณะลูกเสือแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและ ศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ ตามแนวทางดังต่อไปนี้

ความหมายของลูกเสือและการลูกเสือ

คำว่า “ลูกเสือ” (Boy Scout) และ “การลูกเสือ” (Scouting) มีผู้ให้ความหมายและแปล ความหมายไว้ต่างๆกัน เช่น เปลื้อง ณ นคร (2516, หน้า 412) ได้ให้ความหมายของคำว่าลูกเสือ ไว้ ว่า หมายถึง เด็กที่อยู่ในคณะที่ตั้งขึ้นสำหรับอบรมให้เป็นพลเมืองดี ส่วน ทวีศักด ญาณประทีป (2540, หน้า 278) ได้ให้ความหมายว่า คือ นักเรียนหรือบุคคลที่ได้รับการอบรมให้เป็นพลเมืองดี มีอุดมคติ มีความรับผิดชอบ หรือเหมือนดังที่ กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2539 ) ได้ กล่าวถึง พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้แก่ ลูกเสือ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2548 เนื่องในพิธีพระราชทานธงประจำกองลูกเสือไว้ว่า เจ้าต้องรู้สึก ว่าการที่เจ้าเป็นลูกเสือ ย่อมมีความประพฤติแปลกกว่าเด็กกลางถนน เจ้าจะประพฤติอย่างเด็กกลาง ถนนไม่ได้ เพราะเจ้าเป็นคนที่พระเจ้าแผ่นดินรู้จักเสียแล้ว หวังใจว่าเจ้าจะเป็นกำลังของชาติและ เชิดชให้ชาติถึงซึ่งความเจริฌในภายหน้า

การปฏิบัติงานในกองลูกเสือของโรงเรียนหนึ่งในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ

การปฏิบัติงานในกองลูกเสือของโรงเรียนหนึ่งในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่คะตวน อำเภอสบเมย ได้ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและความจำเป็นในการแล้ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ศึกษาการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา แม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการปฏิบัติงานจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ สอดคล้องกับหลักการกระบวนการทางลูกเสือ งานเอกสารธุรการตั้งแต่กลุ่มลูกเสือสำรอง ลูกเสือ สามัญลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และการกำกับดูแลงานลูกเสือทั้งหมดของโรงเรียนโดยเจ้าหน้าที่ลูกเสือ โรงเรียน เพื่อนำผลที่ได้รับจากการศึกษาเสนอต่อผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องทั้งใน ระดับผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบในกองลูกเสือ จะได้นำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาปรับปรุง พัฒนาการปฏิบัติงาน กิจการลูกเสือโรงเรียนและในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นเอกภาพ ให้บุคลากรทางด้านงานลูกเสือมีประสิทธิภาพในด้านการเรียน การสอน การจัดกิจกรรมในวิชาลูกเสือและการปฏิบัติงานในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา แม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

กิจการลูกเสือที่ประสบความสำเร็จ

โดยการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือในระยะเริ่มแรกในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาแม่คะตวน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2,2540) อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้รับผิดชอบเพียงกลุ่มเดียว คือผู้บังคับบัญชาที่ผ่านการแกอบรมวิชาผู้กำกับ ลูกเสือเท่านั้นที่ดำเนินการสอนและจัดกิจกรรมลูกเสือภายในโรงเรียน ต่อมาบางสถานศึกษา ได้มี การปรับเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาซึ่งทำให้มีลูกเสือครบ 3 ประเภทคือ ลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ที่มีจำนวนมากขึ้นในทุกๆปีการศึกษาในการปฏิบัติงาน ส่วนมากจะมีการมอบหมายงานให้กับผู้กำกับลูกเสือแต่ละประเภท คือ ผู้กำกับลูกเสือสำรอง ผู้กำกับลูกเสือสามัญ ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เป็นผู้ดูแลกิจกรรมลูกเสือ ในปัจจุบันกองลูกเสือ และกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่คะตวน อำเภอสบเมย เกิดปัญหา แต่การปฏิบัติงานของกองลูกเสือยังอยู่ในลักษณะเดิม จึงทำให้งานของกองลูกเสือของ โรเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่คะตวน อำเภอสบเมย ไม่บรรลุและประสบ 

หลักการจัดกิจกรรมลูกเสืออย่างถูกต้อง

ดังนั้นในการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือควรจะมีหลักการที่แน่นอน นั่นคือการบริหารงาน ให้เป็นไปตามอุดมการณ์ของลูกเสือคือ การเน้นการปฏิบัติจริง จึงจำเป็นที่ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายครูผู้สอนจะต้องสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง ทั้งทางตรงและทางอ้อมทางตรงได้แก่ การแกอบรม และการเรียนการสอนในสถานศึกษา ส่วนทางอ้อมได้แก่ การให้ การสนับสนุนด้านทรัพยากร บุคคล วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนงบประมาณการดำเนินการที่พอเพียง โดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับงานกิจการลูกเสือเพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของงาน กิจการนักเรียน อันเป็นภารกิจโดยตรงของผู้บริหารโรงเรียนอยู่แล้ว ดังที่ กิติมา ปรีดีลก (2532, หน้า 165) ไต้กล่าวว่า ผู้บริหารจะต้องจัดดำเนินการเพื่อให้กิจการนักเรียนเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ การบริหารงานกิจการนักเรียนได้ดีที่สุด หรือทัดเทียมคับงานอื่น ๆ แล้ว ย่อมจะก่อให้เกิด ประสิทธิภาพขึ้นในโรงเรียน

สภาพปัญหาของการจัดกิจกรรมลูกเสือ

จากสภาพความเป็นจริงการจัดกิจกรรมลูกเสือ ถึงแบ้ว่ากรมวิชาการ ได้กำหนดนโยบายไว้ว่า มีความจำเป็นที่ต้องให้ทุกคนในโรงเรียนเป็นลูกเสือทุกคน ตั้งแต่อนุบาล จนจบการศึกษาภาคบังคับถึงอุดมศึกษา จนกว่าจะออกไปประกอบอาชีพ โดยให้ทุกโรงเรียน จัดการเรียนการสอนลูกเสือ ยุวกาชาติ เนตรนารี โดยวิธีการลูกเสือคือ โดยวิธีการกระทำ วางแผน การสอนวิชาลูกเสือ โดยเน้นการเรียนการสอนให้มากขึ้นให้วางแผนการสอนลูกเสือให้มีมาตรฐาน อย่างเด่นชัด ให้มีการติดตามผล ประเมินผลการสอนของครู การเรียนของลูกเสือในภาคปฏิบัติ กิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการลูกเสือแห่งชาติ เช่น การเรียนด้วยการปฏิบัติจริง ผู้บริหารต้องสอดส่องเป็นพิเศษ นอกจากนี้ให้กรมวิชาการจัดกิจกรรมลูกเสือเป็นกิจกรรมที่นักเรียนทุกคน ต้องเรียน เป็นแนวทางปฏิบัติให้กรมวิชาการเน้นให้นักเรียนทุกคนต้องเป็นลูกเสือ เพราะลูกเสือ สร้างคนให้มีระเบียบวินัย เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ให้แด่ละกรมดำเนินการสอน ลูกเสือด้วยการปฏิบัติจริง อย่างจริงจังแต่โดยต่วนหลักสูตรของกรมวิชาการจะต้องสอดคล้อง และสนับสนุนส่งเสริมวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ กรมวิชาการจะต้องดำเนินการ และ ประเมินผลหลักสูตรของลูกเสืออยู่ตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ แต่ กิจกรรมหาไต้บรรลุตามวัตถุประสงค์และอุดมการณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ ดังเช่นจากการศึกษา ของนิกร แสนวิไล (2536, หน้า 89) ที่ศึกษาเกี่ยวลับกิจกรรมลูกเสือสามัญในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าครูผู้สอนไม่มีความรู้และ ขาดทักษะการสอนกิจกรรมลูกเสือ ขาดการเตรียมการสอนล่วงหน้า ไม่ใช้อุปกรณ์การสอน และ มีปัญหาในต้านเวลามีน้อย เนื้อหากิจกรรมที่กำหนดไว้มาก ครูสอนไม่ทัน รวมทั้งมีงานในหน้าที่ รับผิดชอบในโรงเรียนมาก ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างลักษณะนิสัยอันดีตาม แนวทางของลูกเสือ

การพัฒนาระบบลูกเสือ

การพัฒนาการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความพร้อม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์จึงจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้แก่ ผู้เรียน เพื่อให้เกิดทักษะแห่งการเรียนรู้ การนำเอากิจกรรมลูกเสือ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีกระบวนการจัดกิจกรรมที่พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการพักหัดขัดเกลา ให้เป็นเยาวชนที่ดีของประเทศชาติ รู้จักปฏิบัติตนเองในสิ่งที่ลูกต้องตามกฎและคำปฏิญาณตน อันจะส่งผลให้เป็นพลเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพ ดังที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราโชวาทเกี่ยวคับกิจการลูกเสือ (สำนักราชเลขาธิการ, 2539, หน้า 375) ไว้ดังนี้