วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เเนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษา

จากแนวนโยบายดังกล่าวทางกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มี คำสั่งที่ วก 935/2532 เรื่อง ให้ใช้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์เป็น กิจกรรมบังคับตามหลักสูตรชั้นประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 และให้ใช้คาบเวลาเรียนของ กิจกรรมสร้างนิสัยในกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยทั้งหมด โดยมีคาบเวลาเรียนในแต่ละระดับชั้น ดังนี้
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2       มีคาบเวลาเรียน    80คาบ
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่3-4        มีคาบเรียน             120คาบ
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่5-6        มีคาบเรียน             80คาบ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าให้ใช้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรมยุวกาชาด และกิจกรรมผู้ บำเพ็ญประโยชน์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 ทุกชั้น ในส่วนของ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนด้นก็เช่นเดียวกันได้มีคำสั่งที่วก 936/2532เรื่อง การเพิ่มเติมกิจกรรม และเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ให้ใช้กิจกรรม ลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เป็นกิจกรรมบังคับในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนด้น พุทธศักราช2521 โดยให้ใช้เวลาจัดกิจกรรมดังกล่าว 1 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาคตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 เป็นด้นไป

สาระสำคัญของการลูกเสือและความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือแต่ละประเภท


สาระสำคัญของการลูกเสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2538, หน้า 4-5) ได้ กล่าวถึงการลูกเสือไว้ว่า ตั้งแต่กิจการลูกเสือกำเนิดขึ้น โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ มีชื่อเต็มว่า โรเนิร์ต สดีเฟสัน สไมธ์ เบเดน โพเอลล์ หรือ บี.พี. ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2540 เป็นด้นมา กิจการลูกเสือได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ก็เนื่องมาจาการที่ บี.พี. ได้เช้าใจในศักยภาพของเด็ก และเยาวชน เมื่อนำเอาเด็กมากระตุ้นให้แสดงออกอย่างเหมาะสม จะสามารถทำให้เด็กมีคุณค่า ต่อสังคมอย่างมหาศาล ได้ทดลองนำเด็กไปอยู่ค่ายพักแรมจนประสบผลสำเร็จจะเห็นว่าถ้าหาก ผู้ใหญ่ให้ความสนใจ ให้ความสำคัญลับการพัฒนาเยาวชนในทางที่ถูกที่ควรจะทำให้เยาวชนมี คุณค่าต่อสังคมของโลกเป็นอย่างยิ่ง

www.yonglihongscout.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น