วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โครงสร้างการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือในสถานศึกษา

การปฏิบัติงานกิจการลูกเสือก็เช่นเดียวคัน เพื่อให้กิจการลูกเสือได้ดำเนินการให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ของการลูกเสือ และอุดมการณ์ของลูกเสือ จึงได้มีการจัดการปฏิบัติงานและการ บังคับบัญชาตามโครงสร้างของคณะลูกเสือแห่งชาติได้ 3 ระดับ (สำนักงานคณะกรรมการบริการ ลูกเสือแห่งชาติ, 2533, หน้า 16-19) คือ ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ แต่เมื่อพิจารณา การบังคับบัญชางานลกเสือ โดยทั่วไปสามารถแบ่งการบังคับบัญชาตามองค์กรต่างๆได้ 5 ระดับ ดังนี้
 องค์กรระดับชาติ ได้แก่ สภาลูกเสือแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และกองการลูกเสือ

  •  องค์กรระดับจังหวัด ได้แก่ คณะกรรมการลูกเสือจังหวัด
  •  องค์กรระดับอำเภอ ได้แก่ คณะกรรมการลูกเสืออำเภอ
  •  องค์กรระดับสถานศึกษา ได้แก่ สถานศึกษาหรือโรงเรียนต่างๆ ทุกสังกัด
  •  องค์กรระดับอื่นๆ ได้แก่ เขตการศึกษา 1-12 สโมสรลูกเสือและกรุงเทพมหานคร

ที่มา : โครงสร้างการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือ ในแต่ละสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2540, เอกสารอัดสำเนา)
จากโครงสร้างการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือสถานศึกษาในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเห็นว่าสายการบังคับบัญชาจากระดับ ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนมาถึงผู้กำกับกลุ่มลูกเสือนั้น ต้องผ่านขั้นตอนถึง 2 ขั้นตอนคือ รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน และหัวหน้าแผนก ผู้ช่วยหัวหน้าแผนก ซึ่งการปฏิบัติงานกิจการ ลูกเสือนั้นจะขึ้นตรงกับรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนโดยตรง ในส่วนของการปฏิบัติงาน กิจการลูกเสือภายในแผนกจะขึ้นตรงกับหัวหน้าแผนกและผู้ช่วยหัวหน้าแผนก โดยมีผู้กำกับกลุ่ม ลูกเสือและผู้ประสานงานลูกเสือในระดับขั้นตอนของแต่ละประเภทเป็นกรรมการ

การศึกษาที่เกี่ยวข้อง


จากการศึกษาที่เกี่ยวข้องยังไม่พบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานกิจการต้องมี อุปกรณ์ลูกเสือเเละนักเรียนโดยตรง แต่มีผู้ศึกษาในแนวทางเดียวกันที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือในระดับต่าง ๆ ดังนี้ นิกร แสนวิไล (2536) ไต้ศึกษากิจกรรมลูกเสือสามัญในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานการประถมศึกษา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมองเห็น ความสำคัญของการจัดครูเข้าสอนกิจกรรมลูกเสือ โดยพิจารณาครูที่ผ่านการอบรมลูกเสือมาก่อน การจัดตารางการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญไต้ยึดตามแนวการสอนมีการวางแผนการสอน โดย ศึกษาจากหลักสูตร พิธีการ เนื้อหากิจกรรมก่อนทุกครั้ง มีการนัดหมายให้นักเรียนทราบล่วงหน้า ถึงเนื้อหาที่จะสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า มีการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการ เรียนกิจกรรมลูกเสือ มีการวัดผลประเมินผลหลังจากการทำกิจกรรม ในส่วนปัญหาและอุปสรรค ในการทำกิจกรรมลูกเสือพบว่า จำนวนครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือมีไม่เพียงพอ ครูที่ไม่ผ่านการ แกอบรมมีปัญหาในต้านทักษะการสอน การใช้อุปกรณ์ และไม่แต่งเครื่องแบบลูกเสือในเวลาสอน สำหรับ อลงกรณ์ ประสานสุข (2537, หน้า 113) ไต้ศึกษาสภาพการบริหารกิจการ ลูกเสือระดับอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การบริหารต้านบุคลากรไม่ไต้วางแผนอัตรา กำลังคน ไมมกรประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ไม่ได้คัดเลือกบุคลากรที่มีวุฒิทางลูกเสือ มาปฏิบัติงานในสำนักงาน นอกจากนี้ไม่ไต้มีการวางแผนปฏิบัติงาน ขาดการประสานงานซึ่งกัน และกัน ผู้กำกับกองลูกเสือโรงเรียนเห็นว่ามีการปฏิบัติในขั้นงบประมาณมาก ในส่วนต้านอื่น ๆ นั้นได้ปฏิบัติน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น