วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การสอน การพัฒนาบุคลากรทางลูกเสือ

การสอน การพัฒนาบุคลากรทางลูกเสือเช่นเดียวกับ สมฤทธ วุฑฒิปรีชา (2541) ได้ศึกษาการบริหารงานกิจการลูกเสือใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนผ่าน การอบรมลูกเสือขั้นเบื้องต้น มีคณะกรรมการดำเนินกิจการลูกเสือเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนการ สอนวิชาลูกเสือ โดยมีจุดประสงค์ให้มีการปฏิบัติจริงตามหลักการลูกเสือ มีกิจกรมให้ลูกเสือ ไม่ ว่ากิจกรรมเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรม มีการทดสอบวิชาพิเศษให้แก,ลูกเสือ ส่วนปัญหาที่พบ ได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ ขาดงบประมาณ ครูไม่ชอบแต่งเครื่องแบบ ไม่มีห้องเรียน
ส่วน ธานินทร์ ชินวัฒน์ (2542)ไต้ศึกษาการสนับสนุนทรัพยากรการบริหารในกิจการ ลูกเสือในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพะเยา พบว่า การสนับสนุนทรัพยากรการบริหารใน 4 ต้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรคน ทรัพยากรวัสดุ ทรัพยากรเงิน และการจัดการนั้น ผู้บริหารได้ให้ การสนับสนุนทรัพยากรคนในกิจการลูกเสือมาก รองลงไปคือ ทรัพยากรวัสดุ ทรัพยากรเงิน และ การจัดการอย่างเพียงพอ

กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ศึกษาเฉพาะกรณีผู้บริหารและครู


โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือรับผิดชอบการเรียนการสอนวิชา อื่นด้วย จึงทำให้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ควรมีการสนับสนุนให้ ลูกเสือ-เนตรนารี จัดกิจกรรมหารายได้เพื่อไว้ใช้ในกลุ่ม ควรมีห้องลูกเสือเพื่อใช้ในการทำ กิจกรรม และมีวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีอย่างเพียงพอและควรมีการ ประชาสัมพันธ์แก่บุคคลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกิจกรรม ลูกเสือ-เนตรนารี ในส่วนของปัญหาและอุปสรรค คือ บุคลากรมีไม่พอ ไม่มีความรู้ความสามารถ ผู้ที่ผ่านการแกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือมานานจะปฏิบัติกิจกรรมได้ไม่เต็มที่ ครูมีความคิดเห็นว่า ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี

การศึกษาความต้องการการนิเทศกิจการลูกเสือ

การศึกษาความต้องการการนิเทศกิจการลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ตามทรรศนะของครูผู้สอนหรือผู้กำกับลูกเสือในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัด พบว่า ครูผู้สอนหรือผู้กำกับลูกเสือมีความต้องการการ นิเทศมาก และการมีข้อเสนอแนะให้กับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ควรให้ความ สนใจและเอาใจใส่ต้านการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ให้มากกว่านี้

ซึ่งคล้ายกับ อุดม อ่อนนวล (2538) ไต้ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ ในการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญ ตามทรรศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาจังหวัดพะเยา พบว่าสภาพที่เป็นจริงว่ามีสภาพที่พึงประสงค์ในทุก ๆด้านปานกลางถึง มาก รวมทั้งข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารให้ความสนใจ และเข้าร่วมนิเทศภายในโรงเรียน
ในปีเดียวกันเอง บรรเจิด อุตมา (2538, หน้า 80) ได้ศึกษาพฤติกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมลูกเสือสามัญในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอลอง จังหวัดแพร่ พบว่า ปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญ เห็นว่าผู้บริหารยังไม่มีการ ติดตามผล และไม่ให้คำปรึกษาหารืออย่างสมํ่าเสมอ ครูผู้สอนคนอื่นๆ ยังไม่ให้ความร่วมมือ เท่าที่ควร อาจเป็นเพราะผู้บริหารและครูผู้สอนไม่เคยได้รับการอบรมลูกเสือสามัญมาก่อน ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของการจัดกิจกรรมลูกเสือ และครูผู้สอนขาดทักษะในการ สอนกิจกรรมลูกเสือ

โครงสร้างการปฏิบัติงานกิจการลูกเสือในสถานศึกษา

การปฏิบัติงานกิจการลูกเสือก็เช่นเดียวคัน เพื่อให้กิจการลูกเสือได้ดำเนินการให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ของการลูกเสือ และอุดมการณ์ของลูกเสือ จึงได้มีการจัดการปฏิบัติงานและการ บังคับบัญชาตามโครงสร้างของคณะลูกเสือแห่งชาติได้ 3 ระดับ (สำนักงานคณะกรรมการบริการ ลูกเสือแห่งชาติ, 2533, หน้า 16-19) คือ ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ แต่เมื่อพิจารณา การบังคับบัญชางานลกเสือ โดยทั่วไปสามารถแบ่งการบังคับบัญชาตามองค์กรต่างๆได้ 5 ระดับ ดังนี้
 องค์กรระดับชาติ ได้แก่ สภาลูกเสือแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และกองการลูกเสือ

การปฏิบัติงานกิจการลูกเสืออย่างมีเป้าหมาย

ลูกเสือแต่ละประเภทนั้นเป็นส่วนหนึ่งในหลักการ ของลูกเสือที่มุ่งให้ลูกเสือมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวลัน มีความสัมพันธ์กันดังเช่นครอบครัว เดียวกัน โดยความเป็นพี่เป็นน้อง รักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและลัน โดยมีหลักการที่สัมพันธ์ ลันดังนี้คือ เป็นกระบวนการเดียวกัน อุดมการณ์ จุดมุ่งหมายล้วนอันเดียวลัน มีคำปฏิญาณและกฎ ลูกเสือเดียวลัน มีเครื่องแบบเป็นสัญลักษณ์ มีระบบหมู,ในการบริหารงานเหมือกันและมีคติพจน์ เป็นตัวกำหนดแบบอย่างปฏิบัติที่เหมือนกัน ซึ่งลูกเสือทุกประเภทจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง สัมพันธ์ลัน

เเนวทางการปฏิบัติตัวในการเป็นลูกเสือ

ลูกเสือจะต้องเข้าใจและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสืออยู่อย่างสมํ่าเสมอจนติดเป็นนิสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก และการกระทำความดีต่างๆ ผู้พี่จะเป็นพลเมืองดีนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำความดี มิใช่เป็นคนดีโดยอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร ผู้กำกับลูกเสือควรหมั่นแกอบรมให้ ลูกเสือเข้าใจและปฏิบัติตามคำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ และควรประพฤติเป็นตัวอย่างให้ด้วย ในส่วนของคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ก็ได้ระบุถึงการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นซึ่ง ถือว่าสำคัญมาก แหล่งที่ลูกเสือสามารถจะบำเพ็ญประโยชน์ได้นั้น ควรเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวแล้ว ขยายให้กว้างออกไปตามวินัยและความสามารถของลูกเสือ คือ บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชนที่ใกล้โรงเรียน งานสาธารณะ งานส่วนรวม และประเทศชาติ

คำปฏิญาณของลูกเสือ

แนวการฝึกอบรมลูกเสือนั้น ลูกเสือทุกคน ทุกประเภท ผู้กำกับลูกเสือจะต้อง เข้าใจและยึดถือคำปฏิญาณของลูกเสือและกฎของลูกเสืออยู่เสมอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการ บริหารลูกเสือแห่งชาติ (2534, หน้า 3-4) ได้กำหนดคำปฏิญาณของลูกเสือ โดยแย่งเป็นประเภท ต่างๆ ไว้ดังนี้

ลูกเสือสำรอง

ข้าสัญญาว่า ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ 2 ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน 

ส่วนลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ ได้กำหนดคำปฏิญาณของ ลูกเสือ ไว้ดังนี้
ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า

ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ